การประกันภัยพิบัติ

 

   จากวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ช่วงปลายปี 2554 ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวมถดถอยและอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศรัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะฟื้นฟูประเทศและเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชน

   นอกจากนี้ ผลจากการเกิดอุทกภัยยังส่งผลกระทบต่อ
ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันวินาศภัยที่เกิดจากภัยพิบัติ ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนสูงมาก หรือไม่สามารถเอาประกันภัยได้ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศ ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

   รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ” ขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมภัยพิบัติขึ้นในพ.ศ. 2555  โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารความเสี่ยงจากภับพิบัติ โดยรับประกันภัย และทำการประกันภัยต่อ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัย โดยการจัดให้มีการรับประกันภัยในจำนวนสูงสุด  ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองภัยพิบัติได้อย่างเพียงพอ ทั่วถึง รวมถึงสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ และผู้ประกอบการต่างๆให้ยังคงดำเนินกิจการต่อไปในประเทศไทย

“กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ”   จะให้ความคุ้มครองภัยพิบัติ 3 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว
และภัยลมพายุ ทั้งนี้คำจำกัดความของคำว่า “ภับพิบัติ” หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เข้าลักษณะความรุนแรง
ถึงขั้นเป็นภัยพิบัติดังนี้
       -  คณะรัฐบาลประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
       -  กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า
5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรีกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่
2 รายขึ้นไป
       -  กรณีธรณีพิบัติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป
       -  กรณีวาตภัย ความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

รุปแบบกรมธรรมืประกันภัยพิบัติ  จะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (Sub Limit) โดยมีความคุ้มครองดังนี้
   1.กลุ่มผู้เอาประกันภัยที่เป็นบ้านอยู่อาศัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัย
จะให้ความคุ้มครองภัยพิบัติใน วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
     โดยมีอัตราเบี้ยประกันภัย(ต่อปี) เท่ากับ 0.5 %
   2.กลุ่มผู้เอาประกันภัยที่เป็นธุรกิจ SMEซึ่งมีทุนประกันภัยไม่เกิน 50 ล้านบาท ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองภัยพิบัติโดยมีการจำกัดความรับผิดไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย
     โดยมีอัตราเบี้ยประกันภัย (ต่อปี) เท่ากับ 1%
   3.กลุ่มผู้เอาประกันภัยภาคอุตสาหกรรม ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองภัยพิบัติโดยมี
การจำกัดความรับผิดไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย
     โดยมีอัตราเบี้ยประกันภัย (ต่อปี) เท่ากับ 1.25%
   สำหรับกลุ่มผู้เอาประกันภัยที่เป็น ธุรกิจ SMEและภาคอุตสาหกรรมนั้น ผู้เอาประกันภัยที่ต้องการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ จะต้องมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย หรือ กรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) เป็นกรมธรรม์ประกันภัยหลักก่อน
   ในกรณีอุทกภัย กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติจะไม่คุ้มครองทรัพย์สินที่ตั้งอยุ่ในพื้นที่ที่ภาครัฐกำหนดให้
เป็นพื้นที่รองรับน้ำ ซึ่งภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือโดยตรงอยู่แล้ว เช่นพื้นที่กักเก็บน้ำ หรือทางผ่านน้ำ
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
   บริษัทประกันภัยจะเข้าสำรวจและประเมินความเสียหาย โดยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ยกเว้นกรณีอุทกภัยในกลุ่ม
ผู้เอาประกันภัยที่เป็นบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากมีผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จึงจะพิจารณาที่ระดับน้ำเป็นเกณฑ์ดังนี้

กลุ่มผู้เอาประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายส่วน
แรกที่ผู้เอาประกันภัย
ต้องรับผิดชอบเอง
บ้านอยู่อาศัย

กรณีอุทกภัย

  • น้ำท่วมพื้นที่ภายในบ้านความคุ้มครอง 30%ของวงเงินการจำกัดความรับผิด
  • น้ำท่วม 50 ซม. ความคุ้มครอง 50% ของวงเงินจำกัดความรับผิด
  • น้ำท่วม 75 ซม. ความคุ้มครอง 75% ของวงเงินจำกัดความรับผิด
  • น้ำท่วม 100 ซม. ความคุ้มครอง 100% ของวงเงินจำกัดความรับผิด

กรณีวาตภัย/ธรณีพิบัติภัย
   บริษัทประกันภัยสำรวจและประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย

ไม่มี
ธุรกิจ SME และ อุตสาหกรรม

กรณีอุทกภัย/วาตภัย/ธรณีพิบัติภัย
   บริษัทประกันภัยจะเข้าสำรวจและประเมินความเสียหาย โดยจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนวงเงินจำกัดความรับผิดชอบของกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ

5% ของการจำกัด
ความรับผิดชอบ 

  

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
MBTS Broking Servises Co.,Ltd.
Tel. 0-2679-6205-8, 0-2679-6556, 0-2679-5853

 

Contacts

MBTS Broking Services Co., Ltd.
Tel. 0-2679-6205-8, 0-2679-6556,
       0-2679-5853
Fax. 0-2679-5132, 0-2679-6208
Email : mbts1@truemail.co.th

Link