ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลและการขนส่ง

 

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
ความหมาย การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. Marine Cargo Insurance  คือ การประกันเพื่อคุ้มครองสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่ง ระหว่างประเทศจากผู้ขายในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่งโดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์ จากอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เรือถูกไฟไหม้ เรือคว่ำ เรือจม ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าขึ้น หรือขนลงจากเรือ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้า

2. Inland Transit Insurance  คือ การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทาง
อากาศยาน รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งคือ รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ
และ เครื่องบินพาณิชย์

3. Marine Hull Insurance  คือ การประกันภัยตัวเรือประกันภัยคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายของ
โครงสร้างตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  3.1 ประเภทไม่มีเครื่องจักร ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ รวมถึงอุปกรณ์บนเรือ และสัมภาระต่างๆ
  3.2 ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง คือ ส่วนที่ให้พลังงานการเดินเรือ
        ทำความร้อน ทำความเย็น

ประเภทการขนส่งต่างๆ ซึ่งสามารถทำประกันภัยสำหรับสินค้า
  - Sea Freight
  - Air Freight
  - Parcel Post
  - Truck
  - Rail

ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้

 

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์

  1. ภัยทางทะเล เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
  2. อัคคีภัย ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
  3. การทิ้งทะเล หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
  4. จรกรรม หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
  5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์

 

เงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครองในการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
ในตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่
มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษที่จัดทำขึ้นโดย กลุ่มผู้รับประกันภัย
อันได้แก่ The Institute of London Underwriters,the Liverpool Underwriters Association และ
Lloyds Underwriters Association จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่งเป็นที่รู้จัก และยอมรับไม่ว่าจะเป็น
ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือ ตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในการประกันภัยขนส่งสินค้า
ทางทะเลโดยทั่วไป มีชุดเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุด ที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้

  1. The Institute Cargo Clauses ‘A’
  2. The Institute Cargo Clauses ‘B’
  3. The Institute Cargo Clauses ‘C’
 

Institute Cargo Clauses (A) ระบุภัยที่คุ้มครองไว้ดังนี้
This insurance covers all risks of loss of or damage to the subject-matter
insured,except as provided in Clauses4, 5, 6 and 7 below.
คำว่า All Risks หมายถึง การเสี่ยงภัยทุกชนิด (ที่ไม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และสืบเนื่องจากสาเหตุภายนอก)ที่อาจยังความสูญเสีย หรือเสียหายต่อสินค้าที่เอาประกันภัยในระหว่างช่วงระยะของการประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ที่คุ้มครอง All Risks ผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจริงซึ่งควาสูญเสียนั้นเป็นเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นและเป็นสาเหตุโดยตรงต่อความสูญเสีย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องมี่ส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนส่วนผู้รับประกันภัยจะต้องพิสูจน์ว่าความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือสืบเนื่องจากภัยที่ถูกระบุยกเว้นไว้

 

 

Institute Cargo Clauses (B)
Institute Cargo Clauses (B) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก Institute Cargo Clauses (A) คือ
ICC (A) ระบุให้คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีสาเหตุจากภายนอกพร้อมกับกำหนดยกเว้นภัย
บางประเภทไว้เท่านั้น แต่ ICC (B) ระบุภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหายอันเนื่องจาก หรือมีสาเหตุจากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนั้น I.C.C. (B) ยังได้แยกความคุ้มครองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
   1. คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้อง
คำนึงถึงสาเหตุที่เป็น ตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่
     1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด
     1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ
     1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก
     1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือ ยานพาหนะ กับวัตถุภายนอกใดๆก็ตาม
นอกเหนือจากกับน้ำ
     1.5 การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบภัย
     1.6 แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ หรือฟ้าผ่า
   2. ความสูญเสียหรือเสียหาย จะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่
     2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม
     2.2 การถูกทิ้งทะเล หรือ การถูกน้ำซัดตกจากเรือไป
     2.3 การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำเข้ามาในระวางเรือ หรือยวดยาน หรือเข้ามาในตู้ ลำเลียง, ตู้ยก หรือสถานที่เก็บวางสินค้า
   3. ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงของหีบห่อใด ซึ่งตกจากเรือหรือตกลงมาในขณะขนขึ้นหรือขนลงจากเรือ หรือยวดยาน

 

 

Institute Cargo Clauses (C)
Institute Cargo Clauses (C) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก I.C.C. (A) เช่นเดียวกับ I.C.C (B) คือระบุภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหาย
อันสืบเนื่องจาก หรือมีสาเหตุจากภัย ที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครองแต่ I.C.C. (C)
ให้ความคุ้มครองที่แคบกว่า I.C.C. (B) โดยแบ่ง
ความคุ้มครองออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
   1. คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็น
ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่
     1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด
     1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ
     1.3 การคว่ำ หรือตกรางของยานพาหนะทางบก
     1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือยานพาหนะ กับวัตถุภายนอกใดๆ
ก็ตาม นอกเหนือจากกับน้ำ
   2. ความสูญเสียหรือเสียหายจะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่
     2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม (General Average Sacrifice)
     2.2 การถูกทิ้งทะเล

 

สรุปความคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ภัยที่คุ้มครอง

ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองตามเงื่อนไขความคุ้มครองมาตรฐาน Institute Cargo Clauses

 

การเลือกซื้อความคุ้มครอง
สำหรับการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น มีแนวทางในการขอเอาประกันภัย ดังนี้
   1. ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครองให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า กล่าวคือ สินค้าโดยทั่วๆไปที่มีการบรรจุหีบห่อ เงื่อนไขความคุ้มครองมักใช้เงื่อนไขแบบมาตรฐานที่เรียกว่า Institute Cargo Clauses ซึ่งมีให้เลือก 3 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
     - เงื่อนไข “A” สำหรับการคุ้มครองที่กว้างที่สุด
     - เงื่อนไข “B” สำหรับการคุ้มครองอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เช่นรถคว่ำ เรือชนกัน เกยตื้น ไฟไหม้ และรวมถึงความ เสียหายจากการเปียกน้ำด้วย
     - เงื่อนไข “C” คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่ร้ายแรงเท่านั้น

   2. ควรระบุให้กรมธรรม์มีผลคุ้มครองตลอดเส้นทางของการขนส่ง เช่น คลังสินค้าของผู้ซื้อสินค้าสมมติว่าตั้งอยู่ในเชียงใหม่ สินค้านำเข้ามาจากฮ่องกงซึ่งเรือสินค้าจะต้องเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯ ก่อนขนส่งต่อภายในประเทศไปยังจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรระบุในกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง เริ่มจากฮ่องกงผ่านกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่
(From Hongkong via Bangkok to Chiengmai)

   3. ควรพิจารณาดูว่าสัญญาซื้อขายเป็นเงื่อนไขแบบใด ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายแบบC.I.F.ในกรณีที่เป็นสินค้าส่งออกจะต้องตรวจดูเงื่อนไขของ L/C ที่ผู้ซื้อสินค้าระบุมาว่าให้ใช้เงื่อนไขความคุ้มครองแบบใด ถ้าผู้ซื้อระบุการคุ้มครองที่กว้างกว่าประเพณีนิยมของการซื้อขายชนิดนั้น ผู้ซื้อมีหน้าที่รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปกติ ระยะเวลาการคุ้มครองสัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้า จะเริ่มต้น เมื่อสินค้าเคลื่อนออกจากโกดังหรือ
สถานที่เก็บสินค้า ณ.สถานที่ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อเริ่มเดินทางและให้ความคุ้มครองต่อเนื่องตลอดการขนส่งตามปกติและสิ้นสุดเมื่อ
     1.ส่งถึงโกดังของผู้รับสินค้าหรือโกดังปลายทาง หรือสถานที่เก็บสินค้า ณ.ปลายทางที่ระบุไว้
     2.ส่งถึงโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้าอื่น ณ.ปลายทางที่ระบุไว้ ซึ่งผู้เอาประกันภัยเลือกใช้เป็น
       2.1.ที่เก็บสินค้านอกเหนือเส้นทางขนส่งตามปกติ หรือ
       2.2.ที่จัดสรรหรือแจกจ่ายสินค้า
     3. เมื่อครบ 60 วัน หลังจากขนสินค้าลงจากเรือเดินทะเล ณ.ท่าปลายทาง หรือเมื่อครบ 30 วัน หลังลงจาก ขนสินค้าลงจากเครื่องบิน แล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดก่อนก็จะสิ้นสุดความคุ้มครอง ณ .เวลานั้น

 

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการออกกรมธรรม์ประกันภัย
   1. Invoice (ใบกำกับสินค้า)
   2. Bill of Lading (B/L) (ใบตราส่ง) หรือใบ Master Airway Bill
   3. Packing List (เอกสารแสดงหีบห่อสินค้า) (ถ้ามี)
   4. Letter of Credit (L/C)

 

ข้อแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ในกรณีที่เกิดความสูญเสีย และ/หรือความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องได้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย และ/หรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยพึงจะต้องปฏิบัติดังนี้
   1.สำรวจสภาพสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า
   2.ถ้าพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย ให้ผู้ขนส่ง/ผู้รับฝากสินค้าออกหลักฐานระบุความเสียหายหรือ ทำเป็นหมายเหตุลงในใบรับสินค้า
   3.กรณีขนส่งด้วยตู้ลำเลียง (Container) ต้องตรวจว่า ตู้ลำเลียง และ Seal มีสภาพเรียบร้อยถูกต้อง ถ้าตู้ลำเลียงหรือ Seal เสียหาย/สูญหาย หรือเป็น Seal อื่นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน
   4.ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที
   5.กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบ แต่พบในภายหลังต้องทำหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน นับจากวันรับมอบสินค้า
   6.ในทุกกรณีเมื่อพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย รีบแจ้งให้ผู้ประกันภัยทราบในทันที นอกจากนี้ การจัดเตรียม และส่งมอบหลักฐาน และเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ครบถ้วนจะช่วยให้ การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว

 

หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
   1.หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill
   2.ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy
   3.ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุหีบห่อ Invoice & Packing List
   4.ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading
   5.หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Shortlanded Cargo List
   6.หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan
   7.สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมหนังสือตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
MBTS Broking Servises Co.,Ltd.
Tel. 0-2679-6205-8, 0-2679-6556, 0-2679-5853

 

Contacts

MBTS Broking Services Co., Ltd.
Tel. 0-2679-6205-8, 0-2679-6556,
       0-2679-5853
Fax. 0-2679-5132, 0-2679-6208
Email : mbts1@truemail.co.th

Link